วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 16 ชนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์

บูตไวรัสบูตไวรัส (boot virus)

คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันทีบูตไวรัสจะ ติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นไฟล์ไวรัส

ไฟล์ไวรัส (file virus)

ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น

มาโครไวรัสมาโครไวรัส (macro virus)

คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น

หนอน (Worm)

เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้นอื่นๆ

โทรจัน (Trojan)

คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

สัปดาห์ที่ 15 การเลือกซื้อ Sound Card


แต่เดิมเครื่องคอมพิวเตอร์การสร้างเสียงแบบธรรมดาๆ เพื่อใช้สำหรับเป็นเสียงเตือนในการทำงานเท่านั้น ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์พัฒนามากขึ้น เราจึงได้นำเสียงเข้ามาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการศึกษาและเพื่อความบันเทิง โดยเฉพาะผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงนั้นก็จะให้ความสำคัญของเสียงที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์มากเป็นพิเศษ จริงอยู่ที่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีการติดตั้งวงจรสร้างเสียงหรือซาวน์ดการ์ดมาให้แล้วบนเมนบอร์ดที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ก็อย่างที่บอกว่าถ้าเป็นเรื่องของความบันเทิงที่สมบูรณ์แบบ เสียงที่ได้จากซาวน์ดการ์ดแบบออนบอร์ดนั้นคงไม่เพียงพอ
ในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เราจะพบเห็นซาวน์ดการ์ดได้ 2 ชนิดหลักๆ คือ ซาวน์ดการ์ดแบบสล็อตรวมไปถึงแบบที่ต่อทางพอร์ต USB ด้วย และแบบซาวน์ดการ์ดออนบอร์ด ซึ่งแบบหลังนี้จะเป็นซาวน์ดการ์ดที่เป็นแบบชิปติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด เพื่อให้สะดวกต่อการติดตั้งและการใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันนี้ซาวน์ดออนบอร์ดได้รับการพัฒนาขึ้นมาก ควบคู่ไปกับการพัฒนาของซาวน์ดการ์ด ทำให้ทุกวันนี้ประสิทธิภาพการทำงานของซาวน์ดออนบอร์ดไม่ได้ต่างกับซาวการ์ดมากนัก สิ่งที่เป็นข้อด้อยของซาวน์ดออนบอร์ดก็คงจะเป็นอุปกรณ์ข้างเคียง และอุปกรณ์จำพวก DAC และ ADC ที่มักจะมีคุณภาพไม่ดีเท่าซาวน์ดการ์ด หรือโดนลดทอนอุปกรณ์บางอย่างไป
ดังนั้นหากท่านคิดตัดสินใจจะใช้ซาวน์ดการ์ดแล้วละก็ การเรียนรู้ที่จะเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดให้เหมาะสมกับความต้องการก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะซาวน์ดการ์ดนั้นมีอยู่หลายรุ่นและหลายราคา ซึ่งทำมาเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดให้ได้ตามความต้องการ ก็ควรที่จะศึกษารายละเอียดของซาวน์ดการ์ดแต่ละรุ่นแต่ละแบบเพื่อนำมาเป็นพื้นฐานการตัดสินใจในการเลือกซื้อกันก่อนนะครับ
พัฒนาการของซาวน์ดการ์ด

เรามามองย้อนหลังไปในอดีต เพื่อดูความเป็นมาเป็นไปของซาวน์ดการ์ดกันสักเล็กน้อย ในยุคแรกของซาวน์ดการ์ดนั้นมีการผลิตออกมาใช้สล็อตแบบ ISA ซึ่งเป็นยุคของ PC AT/XT หรือเทียบรุ่นซีพียูก็ราวๆ 286, 386 โน่น การ์ดเสียงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวลานั้นก็จะมีอยู่สองรายหรือ Roland กับทาง Adlib ส่วนชิปเสียงยอดนิยมก็ต้องเป็นของ Yamaha เสียงที่ได้จากการ์ดแบบนี้ยังมีคุณภาพของเสียงต่ำมากๆ เพราะเป็นระบบเสียงแบบ Mono แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดค้นแอพพลิเคชันด้านมัลติมีเดียเลยทีเดียว เพราะเสียงที่ออกมาแม้จะเป็นแบบโมโน แต่ว่ามันสามารถสร้างเสียงพูดของคนออกมาได้ค่อนข้างชัดเจน หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาซาวน์ดการ์ดออกมาอย่างมากมายรวมไปถึงชิปเสียงด้วย และบริษัทที่โดดเด่นมาที่สุดในเวลานั้นก็คือ Creative Labs ด้วยการเปิดตัวซาวน์ดการ์ดที่มีระบบเสียงแบบสเตริโอ ซึ่งได้ทำการยึดครองตลาดซาวน์ดการ์ดไว้ได้ทั้งโลกจนมาถึงในปัจจุบัน
มาถึงในปัจจุบัน เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ต่างก็มีการพัฒนาขึ้นมาก รวมไปถึงมาตรฐานของสล๊อตต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เปลี่ยนไปซึ่งก็มีส่วนที่ทำให้เกิดการพัฒนารูปลักษณ์ของเจ้าซาวน์ดการ์ดออกมาในลักษณะของการ์ดแบบ PCI
เรามาดูการพัฒนาการของซาวน์ดการ์ดแบบ PCI กันบ้าง การผลิตและพัฒนาของซาวน์ดการ์ดแบบ PCI ในช่วงแรกยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนักระบบเสียงก็ยังคงเป็นแบบสเตริโอ แต่อาจจะเพิ่มเรื่องของจำนวนบิตของเสียงเข้าไปเพื่อช่วยทำให้เสียงมีคุณภาพดีขึ้น ยกตัวอย่างซาวน์ดการ์ด Creative SB Vibra 128 ที่โด่งดังมากเมื่อก่อน ซึ่งมีราคาอยู่ประมาณ 1,000 บาท ถือว่ายังเป็นราคาที่แพงอยู่ในขณะนั้น จากนั้นมาก็ได้มีการพัฒนาประสิทธิการใช้ของซาวน์ดการ์ดขึ้นเรื่อยๆ จากซาวน์ดการ์ดที่เป็นแบบ 2.1 แชนแนล พัฒนาเป็นซาวน์ดการ์ดที่สนับสนุนการทำงานแบบ 4.1 แชนแนล, 5.1 แชนแนล และแบบ 6.1 แชนแนล โดยได้พัฒนาควบคู่กับการพัฒนาของลำโพงแบบต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้งานร่วมกับซาวน์ดการ์ดนี้
ล่าสุดก็ได้มีการผลิตซาวน์ดการ์ดแบบ 7.1 แชนแนลออกมา ถือว่าเป็นสุดยอดซาวน์ดการ์ดอยู่ในขณะนี้ นับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างความฮือฮามากที่สุดในขณะนี้ก็ได้ โดยเฉพาะบุคคลที่ชอบเสียงเพลงเป็นชีวิตจิตใจ หรือแม้กระทั่งนักดนตรีต่างๆ ต่างก็คงรอคอยซาวน์ดการ์ดแบบนี้อยู่เหมือนกัน ซึ่งสามารถให้เสียงที่สมบูรณ์แบบมากกว่าแบบต่างๆที่ได้กล่าวมา ซึ่งซาวน์ดการ์ดแบบ 7.1 ที่พึ่งเปิดในบ้านเราและสร้างความประทับใจได้มากในเวลานั้นก็คือ X-Fi ซาวน์ดการ์ดที่ใช้เทคโนโลยีประมวลผลแบบใหม่ ที่ช่วยลดภาระการทำงานของ CPU ได้มากขึ้น พร้อมระบบ CMSS-3D ที่ให้เสียงแบบเซอร์ราวดน์ได้อย่างสมจริง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกใหม่ล่าสุดของซาวน์ดการ์ด
ชนิดของซาวน์ดการ์ดที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน
ถ้าเราจะแบ่งชนิดของซาวน์ดการ์ดที่มีขายอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้ เราก็สามารถที่จะแบ่งซาวน์ดการ์ดออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ
Sound Onboard
ซาวน์ดออนบอร์ดนั้นจริงๆ มันไม่ใช่ซาวน์ดการ์ดแต่ที่นิยมเรียกกันว่า “ซาวน์ดการ์ดออนบอร์ด” ก็เพื่อสร้างความเข้าใจที่ง่ายๆ ขึ้นมาเท่านั้นเอง แต่หลังๆ เราก็เริ่มได้ยินคำนี้น้อยลงและกลับมาได้ยิ่งคำว่า “ซาวน์ดออนบอร์ด” ตามตัวอักษรที่เขียนในภาษาอังกฤษกันมากขึ้น ซาวน์ดออนบอร์ดจริงๆ แล้วมันจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ คือชิป CODEC หรือชิปที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลจากดิจิตอลที่ประมวลผลโดยซีพียูผ่านทางตัวชิป CODEC เพื่อทำการแปลงเป็นสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกแล้วส่งต่อไปที่คอนเน็คเตอร์ลำโพงที่ด้านหลังของเมนบอร์ดอีกที และชิป CODEC นี้ก็ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงจากช่องอินพุตไมโครโฟนมาทำการแปลงให้เป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลเพื่อให้ซีพียูทำการประมวลผลได้ต่อไป
แต่เดิมนั้นคุณภาพเสียงของซาวน์ดออนบอร์ดนั้นไม่ค่อยมีคุณภาพมากนัก เพราะสาเหตุมาจากการทำงานหรือการประมวลผลข้อมูลเสียงจริงๆ แล้วมันมาจากตัวซีพียู หมายความวาระหว่างที่เราเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง นอกจากซีพียูจะทำงานประมวลผลตามโปรแกรมเกม โปรแกรมดูหนัง โปรแกรมฟังเพลงแล้ว ซีพียูยังมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลเสียงเหล่านั้นอีกด้วย ทำให้เราไม่สามารถกำหนดข้อมูลเสียงให้มีความละเอียดหรือจำนวนบิตมากๆ ได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับซีพียูมากเกินไป
แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาซีพียูเองได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้นอย่างมาก ซีพียูก็สามารถทำงานได้หลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกัน รวมไปถึงการเพิ่มชุดคำสั่งใหม่ๆ ทางด้านมัลติมีเดียทำให้การประมวลผลข้อมูลทางด้านเสียงดีขึ้นด้วยทำให้ซาวน์ดออนบอร์ดได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงพวก CODEC และชิปเซาธ์บริจด์ที่ต้องเชื่อมต่อกับชิป CODEC เองก็มีการพัฒนาไปมาก ทำให้เสียงที่ได้จากซาวน์ดออนบอร์ดในปัจจุบันมีคุณภาพสูงพอๆ กับพวกซาวน์ดการ์ดราคาถูกหรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำไป
ซาวน์ดการ์ดแบบ PCI & PCI-Express

ซาวน์ดการ์ดแบบ PCI นี้ถือว่าเป็นซาวน์ดการ์ดจริงๆ แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลมันทำมาอยู่บนการ์ด แต่เป็นเพราะมันมีหน่วยประมวลผลทางด้านสัญญาณเสียงที่เรียกว่า Digital Signal Processing (DSP)ด้วยบนตัวการ์ด ส่วนคุณภาพของเสียงมันก็ขึ้นอยู่กับชิป DSP ที่อยู่บนตัวการ์ดนั่นเอง
สำหรับการเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดแบบ PCI นั้นเป็นเรื่องไม่ยาก เลือกตามงบประมาณเลยครับ ฟังดูเหมือนเขียนแบบไม่รับผิดชอบอะไร แต่ก็ต้องบอกตรงๆ ว่าในบ้านเราตอนนี้มีซาวน์ดการ์ดให้เลือกไม่เกิน 3 ยี่ห้อครับ และก็เป็นยี่ห้อใหญ่อย่าง Creative ซะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องคุณภาพก็ตามงบประมาณครับ ยิ่งแพงคุณภาพเสียงก็ยิ่งดี ลูกเล่นก็ยิ่งมาก อันนี้ต้องดูด้วยว่าจะไปใช้ในงานประเภทไหน เพราะเขามีรุ่นให้เลือกใช้ตามความต้องการของผู้ใช้ครับ เช่นใช้งานทั่วไป เล่นเกม ทำดนตรี ก็อย่างที่บอกครับเลือกไปตามงบประมาณ
ที่เห็นว่ามีข่าวคึกคักอยู่พักใหญ่อาจจะเห็นเอาเข้ามาขายบ้างอย่างไม่เป็นทางการก็เห็นจะเป็นซาวน์ดการ์ดของ ASUS ครับ รุ่น Xonar ซึ่งชื่อของ ASUS ก็พอที่จะรับประกันคุณภาพได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
นอกจากซาวน์ดการ์ดที่ใช้อินเทอร์เฟสแบบ PCI แล้วตอนนี้เริ่มมีซาวน์ดแบบที่ใช้อินเทอร์เฟซ PCI-Express x1 ออกมาให้เห็นกันมากขึ้น แต่ว่ายังไม่เห็นมีขายในบ้านเรานะ บางทีอาจจะต้องรอให้สต๊อกเก่าๆ หมดไปก่อน เพราะเมนบอร์ดส่วนใหญ่ก็ยังมีสล๊อต PCI ให้ใช้กันอยู่ ความแตกต่างระหว่างซาวน์ดการ์ด PCI กับแบบ PCI-Express x1 นั้นก็มีเพียงแค่เรื่องของสล๊อตที่ใช้เสียบลงไปบนเมนบอร์ดเท่านั้นเอง
ซาวน์ดการ์ดแบบ External

จริงแล้วเราไม่ควรจะเรียกมันว่าซาวน์ดการ์ด เพราะซาวน์ดการ์ดแบบ External นั้นมันมักจะอยู่ในรูปของกล่องอะไรสักอย่าง บางรุ่นก็มีขนาดใหญ่โตพอๆ กับซีดีรอมตัวหนึ่งเลยทีเดียว บางรุ่นก็มีขนาดพอๆ กับซองบุหรี่เท่านั้น ทั้งนี้มันก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและฟังก์ชันพิเศษในการใช้งานนั่นเอง
ซาวน์ดการ์ดแบบ External นี้จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ต USB ข้อดีของซาวน์ดการ์ดในลักษณะนี้ก็คือช่วยให้เราเพิ่มคุณภาพของเสียงได้ง่ายโดยเฉพาะกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ ที่ไม่มีที่ว่างพอสำหรับใส่ซาวน์ดการ์ดแบบ PCI รวมไปถึงคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ส่วนใหญ่จะมีระบบเสียงเป็นแบบสเตริโอธรรมดาเท่านั้น ซาวน์ดการ์ดแบบ External ส่วนใหญ่จะรองรับระบบเสียงแบบ 5.1CH ขึ้นไปจนถึงระดับ 7.1CH กันเลยทีเดียว
เทคโนโลยีอื่นๆ ที่น่าสนใจ
EAX สิ่งสำคัญในการเล่นเกม
EAX (Environment Audio Extensions) เป็นมาตรฐานของระบบการสร้างเสียงในระบบเกม การสร้างเสียงของเกมนนั้นแตกต่างจาการดูหนังฟังเพลง เพราะการสร้างเสียงในเกมนั้นจะใช้วิธีการสังเคราะห์เสียงขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยใช้ความสามารถของซาวน์ดการ์ดและ CPU ในการทำงานร่วมกัน ดังนั้นหากมองหาซาวน์ดการ์ดที่สามารถนำมาใช้ในการเล่นเกมส์ได้ดี ก็ควรที่จะมองหาซาวน์ดการ์ดที่สามารถรองรับระบบ EAX ได้ดี ซึ่งปัจจุบัน EAX นั้นได้รับการพัฒนามาเป็นเวอร์ชั่นที่ 5.0 แล้ว ซึ่งก็คือ EAX HD 5.0 ซึ่งความสามารถนี้ถูกบรรจุอยู่ในซาวน์ดการ์ดรุ่นใหม่อย่าง X-Fi ของทาง Creative ซึ่งให้เสียงในการเล่นเกมที่ดีกว่าซาวน์ดการ์ดทั่วไป
16 bit / 24 bit ต่างกันอย่างไร
ในทุกวันนี้การพูดถึงซาวน์ดการ์ดนั้นส่วนใหญ่จะมีการพูดถึงความสามารถของซาวน์ดการ์ดในด้านหนึ่งด้วยก็คือ ความสามารถทางด้านบิตนั่นเอง ความหมายของบิตในที่นี้คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลที่นับเป็นความลึกของบิต เป็นความสามารถในการเก็บช่วงระดับเสียงที่แตกต่างกัน หรือในทางกลับกันก็เป็นความสามารถในการสร้างสรรค์ระดับเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งมักทำให้เกิดไดนามิกส์เรนจ์ทางเสียงที่แตกต่างกัน โดยที่ระบบ 16 บิต จะสามารถเก็บหรือสร้างความแตกต่าง ในระดังเสียงได้ 65, 536 ระดับ แต่ในขณะที่ระบบ 24 บิตนั้นสามารถสร้างได้มากถึง 16,777,216 ระดับ ซึ่งแน่นอนว่าไดนามิกเรนจ์ก็จะย่อมดีกว่าแบบ 16 บิตด้วย ทำให้เราได้รับฟังเสียงที่มีความละเอียดมากกว่า
การเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดไว้ใช้งาน
ตอนนี้ก็พอจะได้รู้จักกับซาวน์ดการ์ดกันมากขึ้นแล้วนะครับ และการที่จะเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดนั้นก็คงจะไม่ต่างอะไรกับอุปกรณ์อื่นๆ คือต้องรู้ก่อนว่าจะนำซาวน์ดการ์ดนี้ไปใช้งานเกี่ยวกับประเภทใด เพื่อที่จะได้เลือกซาวน์ดการ์ดที่เหมาะสมกับการใช้งานของท่าน
เช่นถ้าต้องการซาวน์ดการร้องรำทำเพลงอย่างพวกคาราโอเกะ หรือสำหรับการฟังเพลงเราก็ไม่จำเป็นต้องไปเลือกซาวน์ดการ์ดที่มีการรองรับระบบเสียงหลายช่อง แต่ให้มองหาซาวน์ดการ์ดที่มีค่า SNR สูงๆ เข้าไว้ ค่า SNR ก็คือ Signal to Noise Ratio ทั้งในส่วนของอินพุตและเอาต์พุต ถ้าต้องการซาวน์ดการ์ดเพื่อการเล่นเกมก็ควรเลือกการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เช่นรองรับระบบเสียงแบบสามมิติรอบทิศทาง รองรับเทคโนโลยี EAX เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 14 การ์ดแสดงผล

ในการประมวลผลภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้น จำเป็นจะต้องใช้ชิปประมวลผลกราฟิคเพื่อช่วยแสดงรายละเอียดในการแสดงผลภาพให้สมจริง คมชัด โดยรวมแล้วเราสามารถแยกประเภทของชิปประมวลผลเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบชิบบนตัวเมนบอร์ด (On-board graphic chip) และการ์ดแสดงผลซึ่งเป็นการ์ดเชื่อมต่อบนสล็อตบนเมนบอร์ด โดยการสังเกตว่าคอมพิวเตอร์ของเรารองรับการ์ดแสดงผลแบบใด จะต้องดูจากชิปเซต และดูว่ามีสล็อตประเภทใดที่รองรับการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลด้วย ปัจจุบันการ์ดแสดงผลมีการพัฒนาชิปประมวลผลให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อให้สามารถรองรับการประมวลผลภาพที่สมจริง เรียกได้ว่าแทบจะทุกๆ 6 เดือนเลยก็ว่าได้ โดยมักจะเน้นในด้านการแสดงผลในเกมสามมิติ การแสดงแสงเงาที่สมจริงในฉากเกม นอกจากนี้ยังมีเหตุผลในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผลคือเรื่องของการรองรับการเชื่อมต่อ เช่น พอร์ต DVI เพื่อใช้เชื่อมต่อกับจอแสดงภาพแบบ Flat-panel เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ หรือภาครับวิทยุ FM รวมถึงการเชื่อมต่อกับวีดีโอต่างๆ เช่น S-Video และการเชื่อมต่อ Component ทำให้การ์ดแสดงผลเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่หลายคนพยายามไขว่หาการ์ดแสดงผลที่ดีที่สุด ยอดเยี่ยมที่สุดอยู่เสมอ ซึ่งนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนกันบ่อยสำหรับนักเล่นเกมที่ต้องการความสามารถในการแสดงผลในระดับสูง โดยการ์ดแสดงผลรุ่นท็อปมักมีราคาในระดับ 1 – 2 หมื่นบาทเลยทีเดียว ประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผลInterface เข้าใจง่ายๆคือรูปแบบการเชื่อมต่อ นั่นคือรูปแบบของการ์ดที่เชื่อมต่อกับตัวเมนบอร์ดนั่นเอง โดยปัจจุบันจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express ที่สามารถเชื่อมต่อกับสล็อต PCI Express สำหรับพีซีรุ่นใหม่ หรือสำหรับรุ่นเก่าจะรองรับรูปแบบการเชื่อมต่อ AGP โดยจะมีความเร็ว 8X 4X และ 2X ซึ่งปัจจุบันจะมีให้เลือกเป็น AGP 8X* และ PCI Express x16 คุณไม่สามารถนำการ์ดแสดงผลแบบ AGP ติดตั้งลงในช่องเสียบการ์ดแบบ PCI Express โดยรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลมากกว่า AGP โดยทางทฤษฎีจะมีความเร็ว 16X ซึ่งเร็วกว่า 8X) สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express Graphic Processor เหมือนมันสมองในการประมวลผล โดยปัจจุบันเกมต่างๆได้รับการพัฒนาให้สามารถแสดงผลในรูปแบบสามมิติ ต้องขอบคุณการ์ดแสดงผลในปัจจุบันที่รองรับการแสดงผลที่สมจริงมากยิ่งขึ้น โดยชิปประมวลผลกราฟิก (Graphic Processing Unit : GPU) นั้นมีผลกับคุณภาพในการประมวลผลภาพมาก โดยชิปประมวลผลภาพจะแบ่งเป็น 2 ค่ายคือ nVidia และ ATi

ความสามารถในการแสดงผลภาพของการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูงจะสามารถเรนเดอร์ภาพได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ภาพที่ออกมาสวยงาม สดใส ไม่สะดุด ไม่มีการกระตุกให้เห็นในการเล่นเกมส์ รับชมภาพยนตร์ โดยจะมีการวัดค่าในการแสดงผลภาพในหน่วยเฟรมต่อวินาที (Frame per second เรียกย่อๆว่า fps) เช่นการรับชมภาพ 30 fps คือการรับชมภาพที่ 30 เฟรมต่อวินาที (ต้องอธิบายก่อนว่าภาพที่เราเห็นนั้น จะมีการเปลี่ยนเฟรมของภาพอย่างรวดเร็วจนตาของเราจับไม่ทัน ทำให้ภาพมีความต่อเนื่อง หากมีการแสดงผลเฟรมภาพได้มาก ก็จะแสดงภาพได้อย่างนิ่มนวลมากยิ่งขึ้น โดยคุณสมบัติของการ์ดแสดงผลที่ต้องนำมาพิจารณาคือ Pixel Shading การแสดงผลภาพ, Transparency การแสดงภาพความคมชัด ความลึกของภาพ, High Dynamic-rang lighting การสร้างแสงเงาของภาพ และความละเอียดในการแสดงผลภาพ เช่น 1600x1200 จะใช้กับหน้าจอที่แสดงผลภาพขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติ Antialiasing การเปิดคุณสมบัติทำให้ภาพมีความสมูท ไหลลื่น นิ่มนวล ไม่ดูแข็งกระด้าง

ในปัจจุบันเกมส่วนใหญ่มักจะใช้คุณสมบัติ DirectX 9 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลภาพให้คมชัด ยอดเยี่ยม นำประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์มาใช้เร่งความเร็วในการแสดงผลกราฟิกมากยิ่งขึ้น หน่วยความจำ ในการใช้งานด้านกราฟิก เช่น การเล่นเกมส์ ตัดต่อวีดีโอ จำเป็นต้องอาศัยการส่งผ่านข้อมูลไปฝากไว้ในหน่วยความจำสำหรับรอการประมวลผลภาพในแสดงผลต่อไป ซึ่งในปัจจบันเกมต่างๆต้องการเนื้อที่หน่วยความจำจำนวนมากในการประมวลผล โดยการ์ดแสดงผลมักมากับหน่วยความจำชนิด GDDR3 ขนาด หน่วยความจำอย่างน้อย 128MB โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานกับ Windows Vista ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคตกับคุณสมบัติ Aero Glass ส่วนในระดับเมนสตรีมแนะนำให้ใช้ขนาดหน่วยความจำที่ 256MB จนถึง 512MB โดยในปัจจุบัน (ไตรมาสที่ 1/2006) หน่วยความจำขนาด 512MB เป็นขนาดหน่วยความจำที่มากที่สุด ในเกมเก่าๆ ขนาดหน่วยความจำ 128MB อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเล่นเกม หากต้องการอัตราการแสดงผลเฟรมภาพที่สูง และสามารถรองรับการแสดงผลที่ความละเอียด 1600x1200 pixels ควรมีขนาดหน่วยความจำที่ 256MB แต่ความต้องการอาจไม่ได้มากขนาดนั้น สำหรับคนที่เล่นเกมเก่าๆอยู่อาจยังไม่ถึงเวลาอัพเกรด จนกว่าจะมีเกมใหม่ๆที่ถูกใจออกมาจึงค่อยทำการอัพเกรดภายหลัง ในชิประมวลผลกราฟิกในบางรุ่น เช่นเมนบอร์ดในเครื่องพีซี (หรือโน้ตบุค) อาจใช้หน่วยความจำหลักของระบบมาใช้ในการประมวลผลภาพด้วย ซึ่งจะแบ่งส่วนหน่วยความจำของระบบไปใช้ในการแสดงผลภาพกราฟิก ทำให้หน่วยความจำที่ใช้ในระบบปฏิบัติการลดน้อยลง หากหน่วยความจำระบบน้อยเพียง 128MB เมื่อถูกแบ่งไปใช้งานด้านกราฟิกอาจทำให้เหลือหน่วยความจำเพียงแค่ 96MB เท่านั้น แต่สำหรับชิปบนเมนบอร์ดในบางรุ่น เช่น Intel Celeron อาจมีชิปประมวลผลภาพกราฟิกมาให้ นั่นหมายถึงมีหน่วยความจำในตัวชิปต่างหากด้วย นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีในการจัดการหน่วยความจำโดยจัดสรรหน่วยความจำของระบบมาใช้กับการ์ดแสดงผลครึ่งหนึ่ง คือเทคโนโลยี TurboCache จาก nVidia และ HyperMemory จาก ATi พอร์ตเชื่อมต่อ 2 พอร์ต
กราฟิกการ์ดรุ่นใหม่ๆจะให้พอร์ตเชื่อมต่อ 2 พอร์ต โดยอาจจะให้พอร์ต DVI (Digital) และพอร์ต VGA (Analog) หรือให้พอร์ต DVI ทั้ง 2 พอร์ตเลยก็เป็นได้ โดยการเชื่อมต่อแบบ DVI จะส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ซึ่งให้คุณภาพในการแสดงผลที่ดีกว่าแบบอนาล็อค (พอร์ต DVI มักให้มากับจอภาพแบบ LCD) หรือจอแสดงผลระดับสูงที่รองรับการส่งผ่านข้อมูลแบบดิจิตอล สำหรับพอร์ต VGA หรือพอร์ค D-Sub 15 pin คือพอร์ตที่ใช้ต่อจอมอนิเตอร์แบบ CRT ทั่วๆไป จุดเด่นของการเชื่อมต่อจอแสดงผลแบบนี้คือสามารถเชื่อมต่อจอภาพได้มากถึง 2 - 4 จอเลยทีเดียว ทำให้เพิ่มพื้นที่การทำงานโปรแกรมต่างๆได้มากขึ้น หากการ์ดแสดงผลของคุณไม่มีพอร์ต VGA คุณก็สามารถเชื่อมต่อจอภาพแบบ DVI ผ่านทางตัวแปลง DVI-to-VGA ได้
เทคโนโลยีในการ์ดแสดงผลที่ช่วยในการลบรอยหยักของภาพ ช่วยให้ภาพเคลื่อนไหวอย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด มีความคมชัดของภาพในระดับที่ไม่คมเกินไปนัก ภาพจะดูนุ่มนวลสบายตา คุณสมบัตินี้จะช่วยในการแสดงผลภาพในความละเอียดต่ำที่ภาพจะแตก หยาบ แสดงผลภาพในอัตราเฟรมเรตที่ต่ำ ทำให้ภาพที่ออกมาไม่แยกและหยาบจนเกินไป โดยคอเกมส์อาจเลือกเปิดคุณสมบัติเพื่อให้ภาพที่ละเอียด ราบรื่นยิ่งขึ้น หรือมีประสิทธิภาพในการแสดงผลสูงขึ้น การรองรับการเชื่อมต่อแบบ Dual GPU

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 13 CD-DVD

CD-ROM (Compack Disk Read only Memory) ในปี 1982 CD-DA (compact disk-digital audio)ได้เป็นที่รู้จักของตลาด ถูกพัฒนาโดยบริษัท Phillip กับ Sony ใช้ในการบันทึกเสียง ต่อมาในปี 1985 เทคโนโลยีได้ขยายตัวกว้างไปสู่วงการคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล ซีดีรอมเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบอยู่รวมกับคอมพิวเตอร์และเป็นที่ยอมรับอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านแผ่นซีดี ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือแบบฟันเฟืองซึ่งจะมีเสียงเมื่อมีการทำงานและแบบสายพานซึ่งจะมีเสียงเงียบกว่า ขณะเริ่มทำงานจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ไดร์ฟซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็วไม่คงที่ ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ขึ้นอยู่กับวงของแผ่นซีดีที่อยู่รอบนอกหรือใน หลังจากมอเตอร์หมุนแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้ใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัว บันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป ความเร็วของไดร์ฟซีดีรอม มีหลาย ไดร์ฟตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Transfer Rate) 150 KB ต่อวินาที หรือ 153,600 Byteต่อวินาที ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time) ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลคือ ช่วงระยะเวลาที่ไดร์ฟซีดีรอมสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม แล้วส่งไป ประมวลผล หน่วยที่ใช้วัดความเร็วนี้คือ มิลลิวินาที (millisecond) หรือ ms ปกติแล้วความเร็วมาตราฐานที่ เป็นของไดร์ฟซีดีรอม 4x ก็คือ 200 ms แต่ตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขเฉลี่ยเท่านั้น เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าไดร์ฟ ซีดีรอมจะมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมเท่ากันทั้งหมด เพราะว่าความเร็วที่แท้จริงนั้นจะขึ้นอยู่ กับว่าข้อมูลที่กำลังอ่าน อยู่ในตำแหน่งไหนบนแผ่นซีดี ถ้าข้อมูลอยู่ในตำแหน่งด้านใน หรือวงในของแผ่นซีดี ก็จะมีความเร็วในการเข้าถึงสูง แต่ถ้าข้อมูลอยู่ด้านนอกหรือวงนอกของแผ่น ก็จะทำให้ความเร็วลดลงไป แคชและบัฟเฟอร์ ไดร์ฟซีดีรอมรุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชหรือบัพเฟอร์ติดตั้งมาบนบอร์ดของซีดีรอมไดรว์ มาด้วย แคชหรือบัพเฟอร์ที่ว่านี้ก็คือชิปหน่วยความจำธรรมดาที่ติดตั้งไว้เพื่อเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนที่จะส่ง ข้อมูลไปประมวลผลต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านข้อมูลจากไดร์ฟซีดีรอม ซึ่งแคชนี้มีหน้าที่เหมือน กับแคชในฮาร์ดดิกส์ ที่จะช่วยประหยัดเวลา ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี อินเตอร์เฟซของไดร์ฟซีดีรอม อินเตอร์เฟซของไดร์ฟซีดีรอมมีอยู่ 3 ชนิดคือ IDE มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลอยู่ในขั้น ที่ยอมรับได้ ชนิด SCSI มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูง เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นซีดีเซิร์ฟเวอร์ เพราะต้องการความเร็ว และความแน่นอนในการส่งถ่ายข้อมูลมากว่า และแบบ USB ซึ่งมีอยู่ 2 เวอร์ชั่น คือ 1.1 และ 2.0 ซึ่งความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลต่างกัน ไดร์ฟซีดีรอมจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก เทคโนโลยีซีดีรอม เทคโนโลยีซีดีรอมแบบที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 ประเภทคือ CLV (Constant Linear Velocity) และ CAV (Constant Angular Velocity) CLV จะทำงานที่ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่แน่นอน (ความเร็ว X) แต่มอเตอร์ นั้นหมุนที่ความเร็วระดับต่างๆ กันขึ้นอยู่กับเนื้อที่ในการเก็บข้อมูล โดยหากอ่านข้อมูลบริเวณด้านในของแผ่นซีดี ตัวไดร์ฟจะหมุนที่ความเร็วสูง แต่เมื่อมีการอ่านข้อมูลบริเวณด้านนอก ตัวไดร์ฟจะลดความเร็วรอบลง โดยความเร็วรอบจะอยู่ระหว่าง 500 ถึง 4,000 รอบต่อนาที สำหรับซีดีรอมความเร็ว 8 เท่า ซึ่งเทคโนโลยีนี้ทำการเพิ่มความเร็วในการถ่ายข้อมูลโอนข้อมูลได้ยาก เนื่องจากต้องคงความเร็ว ในการโอนถ่ายข้อมูลที่ 16 เท่านั้น เมื่อข้อมูลถูกเก็บอยู่ในพื้นที่วงในของแผ่นซีดี ตัวไดร์ฟจำเป็นต้องหมุนด้วยความเร็วสูง เพื่อให้คงอัตราการ ถ่ายโอนข้อมูลนั้นไว้ ทำให้เกิดปัญหาความร้อนและเกิดข้อผิดพลาดในการรับข้อมูลได้มากขึ้น CAV ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการทำงานที่ต่างกันโดยตัวไดร์ฟ CAV นั้นจะมีความเร็วในการหมุนคงที่เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในฮาร์ดดิสก์ เมื่อมีการอ่านข้อมูลบริเวณวงในของ แผ่นซีดีรอมนั้นตัวไดร์ฟอาจจะทำความเร็วในระดับ 8-12 เท่า แต่ประโยชน์ที่ได้จาก แต่ประโยชนที่ได้จาก ตัวไดร์ฟเทคโนโลยีนี้ก็คือเมื่อไดร์ฟ ทำการอ่านข้อมูลบริเวณวงนอกของแผ่นซีดีความเร็ว ในการอ่านจะเพิ่มขึ้น เป็น 16 เท่า เพราะเนื้อที่ด้านนอกของซีดีนั้นจะเก็บข้อมูลมากว่าพื้นที่วงในของแผ่น CD-RW CD-RW นั้นดูคล้ายกับ CD-ROM มากต่างกับเพียงการทำงานโดย CD-ROM ทำหน้าที่อ่านอย่างเดียวแต่ CD-RW นั้นยอมให้มีการบันทึกข้อมูลและบันทึกได้หลายพันครั้ง CD-RW drive นั้นต่างจาก CD-ROM drive ทั่วๆไปตั้งแต่มันสามารถที่จะใช้ laser ในการใช้พลังงานในการทำงานที่ต่าง level กัน laser ที่ level สูงสามารถทำให้เกิดช่องที่เรียกว่า แลนด์ เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลและ ใช้ laser ที่ level ต่ำในการอ่านข้อมูลโดยไมทำลายพื้นผิดของแผ่นแต่อย่างใด
CD-RW นั้นดูคล้ายกับ CD-ROM มากต่างกับเพียงการทำงานโดย CD-ROM ทำหน้าที่อ่านอย่างเดียวแต่ CD-RW นั้นยอมให้มีการบันทึกข้อมูลและบันทึกได้หลายพันครั้ง CD-RW drive นั้นต่างจาก CD-ROM drive ทั่วๆไปตั้งแต่มันสามารถที่จะใช้ laser ในการใช้พลังงานในการทำงานที่ต่าง level กัน laser ที่ level สูงสามารถทำให้เกิดช่องที่เรียกว่า แลนด์ เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลและ ใช้ laser ที่ level ต่ำในการอ่านข้อมูลโดยไมทำลายพื้นผิดของแผ่นแต่อย่างใด
ในการเขียนแผ่นแต่ละครั้งแต่ก่อนต้องคอยระวังไม่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานใดๆเลย เพราะเนื่องจากการเขียนแผ่นแต่ละครั้งต้องใช้หน่วยความจำค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยทำให้ CD-RW นั้นทำงานได้ดีขึ้นคือ SafeBurn Buffer Management System (เรียกสั้น ๆ ว่า SafeBurn ) หลักการทำงานเริ่มแรกก็จะตรวจสอบความสามารถของแผ่นซีดีที่จะบันทึกและจะจัดการเลือกความสามารถในการบันทึกให้ตรงกับซีดีแผ่นนั้น ๆ จากนั้นจะคอยจัดการในเรื่องการทำงานไปด้วย ทำให้ทำงานได้ทั้งในการเขียนแผ่นซีดีและก็ทำงานอย่างอื่น ๆ ได้พร้อมกัน ซึ่งไดร์ฟนี้ก็มีจุดเด่นตรงที่บัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ 8 เมกะไบต์ ทำให้รองรับข้อมูลที่ไหลมาเก็บได้มากกว่าถ้าจะให้เหมาะที่สุดสำหรับการใช้งานในระดับยูสเซอร์ทั่วไปแบบที่ติดตั้งภายในโดยใช้อินเทอร์เฟซแบบ IDE แผ่น CD-R CD-WORM (Write Once Read : WOR) แผ่น CD ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้โปรแกรมช่วยในการบันทึก และใช้เครื่อง Recordable CD เป็นตัวบันทึก แต่การบันทึกนั้นจะใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ข้อสังเกต ให้ดูคำว่า CD-R บนแผ่น CD แผ่น CD-RW แผ่น CD ที่สามารถบันทึกซ้ำได้ คล้ายกับ hard disk หรือแผ่นดิสก์ ข้อสังเกตว่าแผ่นไหนเป็น CD-RW ให้ดูว่ามี CD-RW บนแผ่น CD สำหรับการบันทึกของแผ่น CD-RW จะเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า multi-sessions เทคโนโลยีของ CD-RW นั้นจะแตกต่างจาก CD-R เนื่องจากต้องมีการบันทึกซ้ำ โดยสารเคมีที่เคลือบบนแผ่น CD-RW นั้นจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับความร้อนถึงจุด ๆ หนึ่ง DVD DVD นั้นเป็นมาตรฐานบน Digital Versatile Disc แต่รู้จักกันในชื่อ Digital Video Disk สามารถเก็บข้อมูลได้มาก และให้คุณภาพของภาพและเสียงที่เหนือกว่าแผ่นซีดีรอม การพัฒนาของดีวีดีนั้นเริ่มต้นจาก DVD-ROM ที่สามารถอ่านแผ่นได้อย่างเดียว จนมาเป็น DVD-R ซึ่งสามารถบันทึกลงบนแผ่น DVD ในที่สุดกลายมาเป็น DVD-RW ซึ่งนอกจากจะอ่านแผ่นดีวีดีทั่วไปได้แล้ว ยังสามารถบันทึกข้อมูลซ้ำลงบนแผ่นดีวีดีได้อีกด้วย เครื่อง DVD-RW นั้นจะอาศัยเทคโนโลยีการบันทึกแผ่นแบบ Phase changing ช่วยให้แผ่นที่ทำการบันทึกมา สามารถนำไปใช้กับเครื่องเล่นดีวีดีแบบต่างๆที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบัน
หลักการทำงานของเครื่อง DVD-RW สำหรับแนวความคิดของแผ่นซีดี หรือดีวีดี ประกอบกันเป็นชั้น หลายชั้น และแบ่งตามหน้าที่ โดยชั้นแรกจะเป็นส่วนของสกรีนรูปภาพหรือตัวหนังสือลงบนแผ่นครับอาจจะไม่มีก็ได้ ส่วนชั้นที่ 2 เป็นชั้นไว้สำหรับป้องกันรอยขีดข่วน ชั้นที่3 นั้นเป็นเป็นเรซิน ไว้สำปรับป้องกัน รังสียูวี เนื่องจากอาจทำให้มีผลกับข้อมูลได้ ชั้นต่อมาเป็นชั้นซึ่งไว้ทำปฏิกิริยากับแสงเลเซอร์ ทำให้สามารถบันทึกได้ซ้ำหลายเที่ยว ต่อจากนั้นจะเป็นชั้นที่บันทึกข้อมูลจะมีอยู่ 3 ชั้นและจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป จบด้วยชั้นสุดท้ายซึ่งทำหน้าที่ป้องกันรอยขีดข่วน
สำหรับหลักการทำงานของเครื่องดีวีดีอาร์ดับบลิวไม่ได้แตกต่างกับเครื่องซีดีอาร์ดับบลิว ทำงานที่ย่านความยาวคลื่น 780 nanometer โดยเมื่อมีการเริ่มบันทึกข้อมูลลงแผ่นลำแสงเลเซอร์จะยิงแสงมากระทบกับแผ่นที่บันทึก ทำให้เกิดหลุมขึ้นมา โดยจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ส่วนที่เรียกว่า Lands (พื้น) และส่วนที่เรียกว่า Pits (หลุม) โดยจะแปลงค่าทั้ง 2 ลักษณะเป็นสัญญาณดิจิตอล คือ เป็น 0 กับ 1 เป็นรหัสที่เครื่องสามารถเข้าใจได้ ซึ่งจะเริ่มบันทึกจากวงในที่สุดของ ทำไมหลักการทำงานเหมือนกัน แต่ทำไมแผ่นดีวีดี จึงสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า แผ่นซีดีธรรมดา หลายเท่าตัวก็เนื่องจากพื้นผิวที่แผ่นของดีวีดี มีขนาดที่เล็กว่าซีดีครับ โดยพื้นผิวของซีดีทั่วไปมีขนาด 1.6 ไมครอน แต่ถ้าเทียบกับ ดีวีดี จะพื้นผิวเพียง 0.74 ไมครอน จึงเป็นสาเหตุให้แผ่นดีวีดีสามารถรองรับความจุที่มากกว่า รูปแบบของ DVD ในการเก็บข้อมูลจะบันทึกเป็น layer ซึ่งมีทั้งแบบ 2 มิติ ไปยัง 3 มิติ ซึ่งปัจจุบันนั้นในแต่ละชั้นจะสามารถจุได้ถึง 15 GB/Layer และคาดว่าจะพัฒนาได้ถึง 45 GB/Layer ข้อมูลที่ถูกบันทึกลงไปก็จะมีจำนวนมากน้อยไม่เท่ากันตามมาตรฐานดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 12 สอนวิธีใช้ DAEMON Tools












สัปดาห์ที่ 11 จอภาพ


จอภาพคอมพิวเตอร์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่ามอนิเตอร์ (monitor) มีลักษณะคล้ายจอโทรทัศน์ แต่จะแตกต่างจากเทอร์มินัล (terminal) ที่เทอร์นัลจะประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์ แต่เดิมมอนิเตอร์และเทอร์มินัลเรียกกันว่าซีอาร์ที (CRT) จอภาพคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีขนาด 14,15,17 นิ้ว หรือใหญ่กว่านั้น มอนิเตอร์ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับงานพิมพ์ตั้งโต๊ะ งานกราฟิก และงานวิศวกรรม เป็นต้นลักษณะที่สำคัญของจอภาพคอมพิวเตอร์มี 2 ประการ คือ ความละเอียด และจำนวนสีในการแสดงผล ลักษณะความละเอียดของภาพจะขึ้นอยู่กับจำนวนจุด บนจอภาพที่เรียกว่า พิกเซลจอภาพคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามสีของการแสดงผลได้เป็น 2 ประการคือ จอภาพสีเดียว และจอภาพสี
1. จอภาพสีเดียว จะแสดงผลลัพธ์เพียงสีเดียวบนพื้นดำ เช่น สีขาว สีเขียว หรืออาจจะแสดงผลสีดำบนพื้นสีขาว
2. จอภาพสี สามารถแสดงผลที่เป็นข้อความและภาพกราฟิกสีต่างๆ
จอภาพสีเป็นจอภาพคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด จำแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
-วีจีเอ ( VGA )
-ซูเปอร์วีจีเอ (super VGA) หรือ SVGA-เอ็กซ์จีเอ (XGA)
หน้าที่
การ ทำงานของจอคอมพิวเตอร์ เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้น และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอน ให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งที่จอคอมพิวเตอร์จะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง จากนั้นเมื่อกวาดภาพ มาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และ ปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และ เคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง และทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย
ตำแหน่งขา หน้าที่ DESCRIPTIONขา 1 สัญญานภาพสีแดง RED VIDEOขา 3 สัญญานภาพสีน้ำเงิน BLUE VIDEO
ขา 4 ไม่ได้ต่อใช้งาน NO CONNECT
ขา 5 ไม่ได้ต่อใช้งาน NO CONNECT
ขา 6 กราวด์สัญญาณสีแดง RED GROUND
ขา 7 กราวด์สัญญาณสีเขียว GREEN GROUNDขา 8 กราวด์สัญญาณสีเขียว BLUE GROUND
ขา 9 ไม่ได้ต่อใช้งาน NO CONNECT
ขา 10 กราวด์สัญญาณซิงค์ SYNC GROUND
ขา 11 กราวด์ GROUND
ขา 12 สัญญาณข้อมูลดิจิตอล SERIAL DATA (SDA)
ขา 13 สัญญาณฮอร์ซิงค์ HOR SYNC
ขา 14 สัญญาณเวอร์ซิงค์ VER SYNC
ขา 15 สัญญาณนาฬิกาดิจิตอล SERIAL CLOCK SCL
ประเภทของ Monitor
จอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube)

เป็นจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ ทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง (high voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัวอิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง
จอภาพแบบแบน LCD (Liquid Crystal Display)
จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ มีสองประเภท ได้แก่
Active matrix
จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย

Passive matrix
จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า DSTN (Double Super Twisted Nematic)
จอ LCD เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มพัฒนาประมาณสิบกว่าปีนี้เอง เริ่มจากการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ LCD จึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ มีการสร้างทรานซิสเตอร์เป็นล้านตัวเพื่อควบคุมจุดสีบนแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้จุดสีเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การแสดงผลจึงเป็นการแสดงจุดสีเล็ก ๆ ที่ผสมกันเป็นสีต่าง ๆ ได้มากมาย การวางตัวของจุดสีดำเล็ก ๆ เรียกว่าแมทริกซ์ (matrix) จอภาพ LCD จึงเป็นจอแสดงผลแบบตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่มีจุดสีจำนวนมาก

จอภาพระบบสัมผัส (Touch-Screen)

สัปดาห์ที่ 10 Printer

เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จาก การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร ์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ

2.เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)
เครื่องพิมพ์พ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่งกันมาก ๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึก ใช้ในการพิมพ์ก็คือ การพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้ว เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามความต้องการ

เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า "พอร์ทเทรต" (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า "แลนด์สเคป" (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร

3.เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิพม์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ

หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด 1 ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่ 300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง