บูตไวรัสบูตไวรัส (boot virus)
คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันทีบูตไวรัสจะ ติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นไฟล์ไวรัส
ไฟล์ไวรัส (file virus)
ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น
มาโครไวรัสมาโครไวรัส (macro virus)
คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น
หนอน (Worm)
เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้นอื่นๆ
โทรจัน (Trojan)
คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 15 การเลือกซื้อ Sound Card
ในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เราจะพบเห็นซาวน์ดการ์ดได้ 2 ชนิดหลักๆ คือ ซาวน์ดการ์ดแบบสล็อตรวมไปถึงแบบที่ต่อทางพอร์ต USB ด้วย และแบบซาวน์ดการ์ดออนบอร์ด ซึ่งแบบหลังนี้จะเป็นซาวน์ดการ์ดที่เป็นแบบชิปติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด เพื่อให้สะดวกต่อการติดตั้งและการใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันนี้ซาวน์ดออนบอร์ดได้รับการพัฒนาขึ้นมาก ควบคู่ไปกับการพัฒนาของซาวน์ดการ์ด ทำให้ทุกวันนี้ประสิทธิภาพการทำงานของซาวน์ดออนบอร์ดไม่ได้ต่างกับซาวการ์ดมากนัก สิ่งที่เป็นข้อด้อยของซาวน์ดออนบอร์ดก็คงจะเป็นอุปกรณ์ข้างเคียง และอุปกรณ์จำพวก DAC และ ADC ที่มักจะมีคุณภาพไม่ดีเท่าซาวน์ดการ์ด หรือโดนลดทอนอุปกรณ์บางอย่างไป
ดังนั้นหากท่านคิดตัดสินใจจะใช้ซาวน์ดการ์ดแล้วละก็ การเรียนรู้ที่จะเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดให้เหมาะสมกับความต้องการก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะซาวน์ดการ์ดนั้นมีอยู่หลายรุ่นและหลายราคา ซึ่งทำมาเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดให้ได้ตามความต้องการ ก็ควรที่จะศึกษารายละเอียดของซาวน์ดการ์ดแต่ละรุ่นแต่ละแบบเพื่อนำมาเป็นพื้นฐานการตัดสินใจในการเลือกซื้อกันก่อนนะครับ
พัฒนาการของซาวน์ดการ์ด
เรามามองย้อนหลังไปในอดีต เพื่อดูความเป็นมาเป็นไปของซาวน์ดการ์ดกันสักเล็กน้อย ในยุคแรกของซาวน์ดการ์ดนั้นมีการผลิตออกมาใช้สล็อตแบบ ISA ซึ่งเป็นยุคของ PC AT/XT หรือเทียบรุ่นซีพียูก็ราวๆ 286, 386 โน่น การ์ดเสียงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวลานั้นก็จะมีอยู่สองรายหรือ Roland กับทาง Adlib ส่วนชิปเสียงยอดนิยมก็ต้องเป็นของ Yamaha เสียงที่ได้จากการ์ดแบบนี้ยังมีคุณภาพของเสียงต่ำมากๆ เพราะเป็นระบบเสียงแบบ Mono แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดค้นแอพพลิเคชันด้านมัลติมีเดียเลยทีเดียว เพราะเสียงที่ออกมาแม้จะเป็นแบบโมโน แต่ว่ามันสามารถสร้างเสียงพูดของคนออกมาได้ค่อนข้างชัดเจน หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาซาวน์ดการ์ดออกมาอย่างมากมายรวมไปถึงชิปเสียงด้วย และบริษัทที่โดดเด่นมาที่สุดในเวลานั้นก็คือ Creative Labs ด้วยการเปิดตัวซาวน์ดการ์ดที่มีระบบเสียงแบบสเตริโอ ซึ่งได้ทำการยึดครองตลาดซาวน์ดการ์ดไว้ได้ทั้งโลกจนมาถึงในปัจจุบัน
มาถึงในปัจจุบัน เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ต่างก็มีการพัฒนาขึ้นมาก รวมไปถึงมาตรฐานของสล๊อตต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เปลี่ยนไปซึ่งก็มีส่วนที่ทำให้เกิดการพัฒนารูปลักษณ์ของเจ้าซาวน์ดการ์ดออกมาในลักษณะของการ์ดแบบ PCI
เรามาดูการพัฒนาการของซาวน์ดการ์ดแบบ PCI กันบ้าง การผลิตและพัฒนาของซาวน์ดการ์ดแบบ PCI ในช่วงแรกยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนักระบบเสียงก็ยังคงเป็นแบบสเตริโอ แต่อาจจะเพิ่มเรื่องของจำนวนบิตของเสียงเข้าไปเพื่อช่วยทำให้เสียงมีคุณภาพดีขึ้น ยกตัวอย่างซาวน์ดการ์ด Creative SB Vibra 128 ที่โด่งดังมากเมื่อก่อน ซึ่งมีราคาอยู่ประมาณ 1,000 บาท ถือว่ายังเป็นราคาที่แพงอยู่ในขณะนั้น จากนั้นมาก็ได้มีการพัฒนาประสิทธิการใช้ของซาวน์ดการ์ดขึ้นเรื่อยๆ จากซาวน์ดการ์ดที่เป็นแบบ 2.1 แชนแนล พัฒนาเป็นซาวน์ดการ์ดที่สนับสนุนการทำงานแบบ 4.1 แชนแนล, 5.1 แชนแนล และแบบ 6.1 แชนแนล โดยได้พัฒนาควบคู่กับการพัฒนาของลำโพงแบบต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้งานร่วมกับซาวน์ดการ์ดนี้
ล่าสุดก็ได้มีการผลิตซาวน์ดการ์ดแบบ 7.1 แชนแนลออกมา ถือว่าเป็นสุดยอดซาวน์ดการ์ดอยู่ในขณะนี้ นับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างความฮือฮามากที่สุดในขณะนี้ก็ได้ โดยเฉพาะบุคคลที่ชอบเสียงเพลงเป็นชีวิตจิตใจ หรือแม้กระทั่งนักดนตรีต่างๆ ต่างก็คงรอคอยซาวน์ดการ์ดแบบนี้อยู่เหมือนกัน ซึ่งสามารถให้เสียงที่สมบูรณ์แบบมากกว่าแบบต่างๆที่ได้กล่าวมา ซึ่งซาวน์ดการ์ดแบบ 7.1 ที่พึ่งเปิดในบ้านเราและสร้างความประทับใจได้มากในเวลานั้นก็คือ X-Fi ซาวน์ดการ์ดที่ใช้เทคโนโลยีประมวลผลแบบใหม่ ที่ช่วยลดภาระการทำงานของ CPU ได้มากขึ้น พร้อมระบบ CMSS-3D ที่ให้เสียงแบบเซอร์ราวดน์ได้อย่างสมจริง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกใหม่ล่าสุดของซาวน์ดการ์ด
ชนิดของซาวน์ดการ์ดที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน
ถ้าเราจะแบ่งชนิดของซาวน์ดการ์ดที่มีขายอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้ เราก็สามารถที่จะแบ่งซาวน์ดการ์ดออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ
Sound Onboard
ซาวน์ดออนบอร์ดนั้นจริงๆ มันไม่ใช่ซาวน์ดการ์ดแต่ที่นิยมเรียกกันว่า “ซาวน์ดการ์ดออนบอร์ด” ก็เพื่อสร้างความเข้าใจที่ง่ายๆ ขึ้นมาเท่านั้นเอง แต่หลังๆ เราก็เริ่มได้ยินคำนี้น้อยลงและกลับมาได้ยิ่งคำว่า “ซาวน์ดออนบอร์ด” ตามตัวอักษรที่เขียนในภาษาอังกฤษกันมากขึ้น ซาวน์ดออนบอร์ดจริงๆ แล้วมันจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ คือชิป CODEC หรือชิปที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลจากดิจิตอลที่ประมวลผลโดยซีพียูผ่านทางตัวชิป CODEC เพื่อทำการแปลงเป็นสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกแล้วส่งต่อไปที่คอนเน็คเตอร์ลำโพงที่ด้านหลังของเมนบอร์ดอีกที และชิป CODEC นี้ก็ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงจากช่องอินพุตไมโครโฟนมาทำการแปลงให้เป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลเพื่อให้ซีพียูทำการประมวลผลได้ต่อไป
แต่เดิมนั้นคุณภาพเสียงของซาวน์ดออนบอร์ดนั้นไม่ค่อยมีคุณภาพมากนัก เพราะสาเหตุมาจากการทำงานหรือการประมวลผลข้อมูลเสียงจริงๆ แล้วมันมาจากตัวซีพียู หมายความวาระหว่างที่เราเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง นอกจากซีพียูจะทำงานประมวลผลตามโปรแกรมเกม โปรแกรมดูหนัง โปรแกรมฟังเพลงแล้ว ซีพียูยังมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลเสียงเหล่านั้นอีกด้วย ทำให้เราไม่สามารถกำหนดข้อมูลเสียงให้มีความละเอียดหรือจำนวนบิตมากๆ ได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับซีพียูมากเกินไป
แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาซีพียูเองได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้นอย่างมาก ซีพียูก็สามารถทำงานได้หลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกัน รวมไปถึงการเพิ่มชุดคำสั่งใหม่ๆ ทางด้านมัลติมีเดียทำให้การประมวลผลข้อมูลทางด้านเสียงดีขึ้นด้วยทำให้ซาวน์ดออนบอร์ดได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงพวก CODEC และชิปเซาธ์บริจด์ที่ต้องเชื่อมต่อกับชิป CODEC เองก็มีการพัฒนาไปมาก ทำให้เสียงที่ได้จากซาวน์ดออนบอร์ดในปัจจุบันมีคุณภาพสูงพอๆ กับพวกซาวน์ดการ์ดราคาถูกหรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำไป
ซาวน์ดการ์ดแบบ PCI & PCI-Express
มาถึงในปัจจุบัน เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ต่างก็มีการพัฒนาขึ้นมาก รวมไปถึงมาตรฐานของสล๊อตต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เปลี่ยนไปซึ่งก็มีส่วนที่ทำให้เกิดการพัฒนารูปลักษณ์ของเจ้าซาวน์ดการ์ดออกมาในลักษณะของการ์ดแบบ PCI
เรามาดูการพัฒนาการของซาวน์ดการ์ดแบบ PCI กันบ้าง การผลิตและพัฒนาของซาวน์ดการ์ดแบบ PCI ในช่วงแรกยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนักระบบเสียงก็ยังคงเป็นแบบสเตริโอ แต่อาจจะเพิ่มเรื่องของจำนวนบิตของเสียงเข้าไปเพื่อช่วยทำให้เสียงมีคุณภาพดีขึ้น ยกตัวอย่างซาวน์ดการ์ด Creative SB Vibra 128 ที่โด่งดังมากเมื่อก่อน ซึ่งมีราคาอยู่ประมาณ 1,000 บาท ถือว่ายังเป็นราคาที่แพงอยู่ในขณะนั้น จากนั้นมาก็ได้มีการพัฒนาประสิทธิการใช้ของซาวน์ดการ์ดขึ้นเรื่อยๆ จากซาวน์ดการ์ดที่เป็นแบบ 2.1 แชนแนล พัฒนาเป็นซาวน์ดการ์ดที่สนับสนุนการทำงานแบบ 4.1 แชนแนล, 5.1 แชนแนล และแบบ 6.1 แชนแนล โดยได้พัฒนาควบคู่กับการพัฒนาของลำโพงแบบต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้งานร่วมกับซาวน์ดการ์ดนี้
ล่าสุดก็ได้มีการผลิตซาวน์ดการ์ดแบบ 7.1 แชนแนลออกมา ถือว่าเป็นสุดยอดซาวน์ดการ์ดอยู่ในขณะนี้ นับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างความฮือฮามากที่สุดในขณะนี้ก็ได้ โดยเฉพาะบุคคลที่ชอบเสียงเพลงเป็นชีวิตจิตใจ หรือแม้กระทั่งนักดนตรีต่างๆ ต่างก็คงรอคอยซาวน์ดการ์ดแบบนี้อยู่เหมือนกัน ซึ่งสามารถให้เสียงที่สมบูรณ์แบบมากกว่าแบบต่างๆที่ได้กล่าวมา ซึ่งซาวน์ดการ์ดแบบ 7.1 ที่พึ่งเปิดในบ้านเราและสร้างความประทับใจได้มากในเวลานั้นก็คือ X-Fi ซาวน์ดการ์ดที่ใช้เทคโนโลยีประมวลผลแบบใหม่ ที่ช่วยลดภาระการทำงานของ CPU ได้มากขึ้น พร้อมระบบ CMSS-3D ที่ให้เสียงแบบเซอร์ราวดน์ได้อย่างสมจริง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกใหม่ล่าสุดของซาวน์ดการ์ด
ชนิดของซาวน์ดการ์ดที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน
ถ้าเราจะแบ่งชนิดของซาวน์ดการ์ดที่มีขายอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้ เราก็สามารถที่จะแบ่งซาวน์ดการ์ดออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ
Sound Onboard
ซาวน์ดออนบอร์ดนั้นจริงๆ มันไม่ใช่ซาวน์ดการ์ดแต่ที่นิยมเรียกกันว่า “ซาวน์ดการ์ดออนบอร์ด” ก็เพื่อสร้างความเข้าใจที่ง่ายๆ ขึ้นมาเท่านั้นเอง แต่หลังๆ เราก็เริ่มได้ยินคำนี้น้อยลงและกลับมาได้ยิ่งคำว่า “ซาวน์ดออนบอร์ด” ตามตัวอักษรที่เขียนในภาษาอังกฤษกันมากขึ้น ซาวน์ดออนบอร์ดจริงๆ แล้วมันจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ คือชิป CODEC หรือชิปที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลจากดิจิตอลที่ประมวลผลโดยซีพียูผ่านทางตัวชิป CODEC เพื่อทำการแปลงเป็นสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกแล้วส่งต่อไปที่คอนเน็คเตอร์ลำโพงที่ด้านหลังของเมนบอร์ดอีกที และชิป CODEC นี้ก็ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงจากช่องอินพุตไมโครโฟนมาทำการแปลงให้เป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลเพื่อให้ซีพียูทำการประมวลผลได้ต่อไป
แต่เดิมนั้นคุณภาพเสียงของซาวน์ดออนบอร์ดนั้นไม่ค่อยมีคุณภาพมากนัก เพราะสาเหตุมาจากการทำงานหรือการประมวลผลข้อมูลเสียงจริงๆ แล้วมันมาจากตัวซีพียู หมายความวาระหว่างที่เราเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง นอกจากซีพียูจะทำงานประมวลผลตามโปรแกรมเกม โปรแกรมดูหนัง โปรแกรมฟังเพลงแล้ว ซีพียูยังมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลเสียงเหล่านั้นอีกด้วย ทำให้เราไม่สามารถกำหนดข้อมูลเสียงให้มีความละเอียดหรือจำนวนบิตมากๆ ได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับซีพียูมากเกินไป
แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาซีพียูเองได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้นอย่างมาก ซีพียูก็สามารถทำงานได้หลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกัน รวมไปถึงการเพิ่มชุดคำสั่งใหม่ๆ ทางด้านมัลติมีเดียทำให้การประมวลผลข้อมูลทางด้านเสียงดีขึ้นด้วยทำให้ซาวน์ดออนบอร์ดได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงพวก CODEC และชิปเซาธ์บริจด์ที่ต้องเชื่อมต่อกับชิป CODEC เองก็มีการพัฒนาไปมาก ทำให้เสียงที่ได้จากซาวน์ดออนบอร์ดในปัจจุบันมีคุณภาพสูงพอๆ กับพวกซาวน์ดการ์ดราคาถูกหรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำไป
ซาวน์ดการ์ดแบบ PCI & PCI-Express
ซาวน์ดการ์ดแบบ PCI นี้ถือว่าเป็นซาวน์ดการ์ดจริงๆ แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลมันทำมาอยู่บนการ์ด แต่เป็นเพราะมันมีหน่วยประมวลผลทางด้านสัญญาณเสียงที่เรียกว่า Digital Signal Processing (DSP)ด้วยบนตัวการ์ด ส่วนคุณภาพของเสียงมันก็ขึ้นอยู่กับชิป DSP ที่อยู่บนตัวการ์ดนั่นเอง
สำหรับการเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดแบบ PCI นั้นเป็นเรื่องไม่ยาก เลือกตามงบประมาณเลยครับ ฟังดูเหมือนเขียนแบบไม่รับผิดชอบอะไร แต่ก็ต้องบอกตรงๆ ว่าในบ้านเราตอนนี้มีซาวน์ดการ์ดให้เลือกไม่เกิน 3 ยี่ห้อครับ และก็เป็นยี่ห้อใหญ่อย่าง Creative ซะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องคุณภาพก็ตามงบประมาณครับ ยิ่งแพงคุณภาพเสียงก็ยิ่งดี ลูกเล่นก็ยิ่งมาก อันนี้ต้องดูด้วยว่าจะไปใช้ในงานประเภทไหน เพราะเขามีรุ่นให้เลือกใช้ตามความต้องการของผู้ใช้ครับ เช่นใช้งานทั่วไป เล่นเกม ทำดนตรี ก็อย่างที่บอกครับเลือกไปตามงบประมาณ
ที่เห็นว่ามีข่าวคึกคักอยู่พักใหญ่อาจจะเห็นเอาเข้ามาขายบ้างอย่างไม่เป็นทางการก็เห็นจะเป็นซาวน์ดการ์ดของ ASUS ครับ รุ่น Xonar ซึ่งชื่อของ ASUS ก็พอที่จะรับประกันคุณภาพได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
นอกจากซาวน์ดการ์ดที่ใช้อินเทอร์เฟสแบบ PCI แล้วตอนนี้เริ่มมีซาวน์ดแบบที่ใช้อินเทอร์เฟซ PCI-Express x1 ออกมาให้เห็นกันมากขึ้น แต่ว่ายังไม่เห็นมีขายในบ้านเรานะ บางทีอาจจะต้องรอให้สต๊อกเก่าๆ หมดไปก่อน เพราะเมนบอร์ดส่วนใหญ่ก็ยังมีสล๊อต PCI ให้ใช้กันอยู่ ความแตกต่างระหว่างซาวน์ดการ์ด PCI กับแบบ PCI-Express x1 นั้นก็มีเพียงแค่เรื่องของสล๊อตที่ใช้เสียบลงไปบนเมนบอร์ดเท่านั้นเอง
ซาวน์ดการ์ดแบบ External
จริงแล้วเราไม่ควรจะเรียกมันว่าซาวน์ดการ์ด เพราะซาวน์ดการ์ดแบบ External นั้นมันมักจะอยู่ในรูปของกล่องอะไรสักอย่าง บางรุ่นก็มีขนาดใหญ่โตพอๆ กับซีดีรอมตัวหนึ่งเลยทีเดียว บางรุ่นก็มีขนาดพอๆ กับซองบุหรี่เท่านั้น ทั้งนี้มันก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและฟังก์ชันพิเศษในการใช้งานนั่นเอง
ซาวน์ดการ์ดแบบ External นี้จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ต USB ข้อดีของซาวน์ดการ์ดในลักษณะนี้ก็คือช่วยให้เราเพิ่มคุณภาพของเสียงได้ง่ายโดยเฉพาะกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ ที่ไม่มีที่ว่างพอสำหรับใส่ซาวน์ดการ์ดแบบ PCI รวมไปถึงคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ส่วนใหญ่จะมีระบบเสียงเป็นแบบสเตริโอธรรมดาเท่านั้น ซาวน์ดการ์ดแบบ External ส่วนใหญ่จะรองรับระบบเสียงแบบ 5.1CH ขึ้นไปจนถึงระดับ 7.1CH กันเลยทีเดียว
เทคโนโลยีอื่นๆ ที่น่าสนใจ
EAX สิ่งสำคัญในการเล่นเกม
EAX (Environment Audio Extensions) เป็นมาตรฐานของระบบการสร้างเสียงในระบบเกม การสร้างเสียงของเกมนนั้นแตกต่างจาการดูหนังฟังเพลง เพราะการสร้างเสียงในเกมนั้นจะใช้วิธีการสังเคราะห์เสียงขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยใช้ความสามารถของซาวน์ดการ์ดและ CPU ในการทำงานร่วมกัน ดังนั้นหากมองหาซาวน์ดการ์ดที่สามารถนำมาใช้ในการเล่นเกมส์ได้ดี ก็ควรที่จะมองหาซาวน์ดการ์ดที่สามารถรองรับระบบ EAX ได้ดี ซึ่งปัจจุบัน EAX นั้นได้รับการพัฒนามาเป็นเวอร์ชั่นที่ 5.0 แล้ว ซึ่งก็คือ EAX HD 5.0 ซึ่งความสามารถนี้ถูกบรรจุอยู่ในซาวน์ดการ์ดรุ่นใหม่อย่าง X-Fi ของทาง Creative ซึ่งให้เสียงในการเล่นเกมที่ดีกว่าซาวน์ดการ์ดทั่วไป
16 bit / 24 bit ต่างกันอย่างไร
ในทุกวันนี้การพูดถึงซาวน์ดการ์ดนั้นส่วนใหญ่จะมีการพูดถึงความสามารถของซาวน์ดการ์ดในด้านหนึ่งด้วยก็คือ ความสามารถทางด้านบิตนั่นเอง ความหมายของบิตในที่นี้คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลที่นับเป็นความลึกของบิต เป็นความสามารถในการเก็บช่วงระดับเสียงที่แตกต่างกัน หรือในทางกลับกันก็เป็นความสามารถในการสร้างสรรค์ระดับเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งมักทำให้เกิดไดนามิกส์เรนจ์ทางเสียงที่แตกต่างกัน โดยที่ระบบ 16 บิต จะสามารถเก็บหรือสร้างความแตกต่าง ในระดังเสียงได้ 65, 536 ระดับ แต่ในขณะที่ระบบ 24 บิตนั้นสามารถสร้างได้มากถึง 16,777,216 ระดับ ซึ่งแน่นอนว่าไดนามิกเรนจ์ก็จะย่อมดีกว่าแบบ 16 บิตด้วย ทำให้เราได้รับฟังเสียงที่มีความละเอียดมากกว่า
การเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดไว้ใช้งาน
ตอนนี้ก็พอจะได้รู้จักกับซาวน์ดการ์ดกันมากขึ้นแล้วนะครับ และการที่จะเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดนั้นก็คงจะไม่ต่างอะไรกับอุปกรณ์อื่นๆ คือต้องรู้ก่อนว่าจะนำซาวน์ดการ์ดนี้ไปใช้งานเกี่ยวกับประเภทใด เพื่อที่จะได้เลือกซาวน์ดการ์ดที่เหมาะสมกับการใช้งานของท่าน
เช่นถ้าต้องการซาวน์ดการร้องรำทำเพลงอย่างพวกคาราโอเกะ หรือสำหรับการฟังเพลงเราก็ไม่จำเป็นต้องไปเลือกซาวน์ดการ์ดที่มีการรองรับระบบเสียงหลายช่อง แต่ให้มองหาซาวน์ดการ์ดที่มีค่า SNR สูงๆ เข้าไว้ ค่า SNR ก็คือ Signal to Noise Ratio ทั้งในส่วนของอินพุตและเอาต์พุต ถ้าต้องการซาวน์ดการ์ดเพื่อการเล่นเกมก็ควรเลือกการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เช่นรองรับระบบเสียงแบบสามมิติรอบทิศทาง รองรับเทคโนโลยี EAX เป็นต้น
ซาวน์ดการ์ดแบบ External นี้จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ต USB ข้อดีของซาวน์ดการ์ดในลักษณะนี้ก็คือช่วยให้เราเพิ่มคุณภาพของเสียงได้ง่ายโดยเฉพาะกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ ที่ไม่มีที่ว่างพอสำหรับใส่ซาวน์ดการ์ดแบบ PCI รวมไปถึงคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ส่วนใหญ่จะมีระบบเสียงเป็นแบบสเตริโอธรรมดาเท่านั้น ซาวน์ดการ์ดแบบ External ส่วนใหญ่จะรองรับระบบเสียงแบบ 5.1CH ขึ้นไปจนถึงระดับ 7.1CH กันเลยทีเดียว
เทคโนโลยีอื่นๆ ที่น่าสนใจ
EAX สิ่งสำคัญในการเล่นเกม
EAX (Environment Audio Extensions) เป็นมาตรฐานของระบบการสร้างเสียงในระบบเกม การสร้างเสียงของเกมนนั้นแตกต่างจาการดูหนังฟังเพลง เพราะการสร้างเสียงในเกมนั้นจะใช้วิธีการสังเคราะห์เสียงขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยใช้ความสามารถของซาวน์ดการ์ดและ CPU ในการทำงานร่วมกัน ดังนั้นหากมองหาซาวน์ดการ์ดที่สามารถนำมาใช้ในการเล่นเกมส์ได้ดี ก็ควรที่จะมองหาซาวน์ดการ์ดที่สามารถรองรับระบบ EAX ได้ดี ซึ่งปัจจุบัน EAX นั้นได้รับการพัฒนามาเป็นเวอร์ชั่นที่ 5.0 แล้ว ซึ่งก็คือ EAX HD 5.0 ซึ่งความสามารถนี้ถูกบรรจุอยู่ในซาวน์ดการ์ดรุ่นใหม่อย่าง X-Fi ของทาง Creative ซึ่งให้เสียงในการเล่นเกมที่ดีกว่าซาวน์ดการ์ดทั่วไป
16 bit / 24 bit ต่างกันอย่างไร
ในทุกวันนี้การพูดถึงซาวน์ดการ์ดนั้นส่วนใหญ่จะมีการพูดถึงความสามารถของซาวน์ดการ์ดในด้านหนึ่งด้วยก็คือ ความสามารถทางด้านบิตนั่นเอง ความหมายของบิตในที่นี้คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลที่นับเป็นความลึกของบิต เป็นความสามารถในการเก็บช่วงระดับเสียงที่แตกต่างกัน หรือในทางกลับกันก็เป็นความสามารถในการสร้างสรรค์ระดับเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งมักทำให้เกิดไดนามิกส์เรนจ์ทางเสียงที่แตกต่างกัน โดยที่ระบบ 16 บิต จะสามารถเก็บหรือสร้างความแตกต่าง ในระดังเสียงได้ 65, 536 ระดับ แต่ในขณะที่ระบบ 24 บิตนั้นสามารถสร้างได้มากถึง 16,777,216 ระดับ ซึ่งแน่นอนว่าไดนามิกเรนจ์ก็จะย่อมดีกว่าแบบ 16 บิตด้วย ทำให้เราได้รับฟังเสียงที่มีความละเอียดมากกว่า
การเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดไว้ใช้งาน
ตอนนี้ก็พอจะได้รู้จักกับซาวน์ดการ์ดกันมากขึ้นแล้วนะครับ และการที่จะเลือกซื้อซาวน์ดการ์ดนั้นก็คงจะไม่ต่างอะไรกับอุปกรณ์อื่นๆ คือต้องรู้ก่อนว่าจะนำซาวน์ดการ์ดนี้ไปใช้งานเกี่ยวกับประเภทใด เพื่อที่จะได้เลือกซาวน์ดการ์ดที่เหมาะสมกับการใช้งานของท่าน
เช่นถ้าต้องการซาวน์ดการร้องรำทำเพลงอย่างพวกคาราโอเกะ หรือสำหรับการฟังเพลงเราก็ไม่จำเป็นต้องไปเลือกซาวน์ดการ์ดที่มีการรองรับระบบเสียงหลายช่อง แต่ให้มองหาซาวน์ดการ์ดที่มีค่า SNR สูงๆ เข้าไว้ ค่า SNR ก็คือ Signal to Noise Ratio ทั้งในส่วนของอินพุตและเอาต์พุต ถ้าต้องการซาวน์ดการ์ดเพื่อการเล่นเกมก็ควรเลือกการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เช่นรองรับระบบเสียงแบบสามมิติรอบทิศทาง รองรับเทคโนโลยี EAX เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)